รับสมัครงาน

century 21 property aims thailand

Banner

960x300

Banner

960x300

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

วิธีสร้างภูมิคุ้มกันในการซื้อบ้าน จาก สคบ.

   แม้ ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานในธุรกิจไปมากเมื่อเทียบกับยุค สมัยก่อนที่คนซื้อบ้านมีความเสี่ยงสูง ในการที่จะไม่ได้บ้านตามสัญญา หรือได้มาก็มีคุณภาพที่ไม่ดี แต่ก็ใช่ว่าในปัจจุบัน ทุกข์ของคนซื้อบ้านจะหมดไป ทุกวันนี้ยังคงมีเรื่องร้องเรียนของคนซื้อบ้านอยู่อย่างสม่ำเสมอ แต่รูปแบบของปัญหาได้เปลี่ยนแปลงไปจากก่อน 

รัศมี วิศทเวทย์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้แจกแจงให้ฟังว่า เมื่อก่อนปัญหาของผู้ซื้อบ้านส่วนใหญ่ คือผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามสัญญาซื้อบ้าน แต่ไม่ได้บ้าน โดยเฉพาะหลังประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ บริษัทพัฒนาที่ดินเจ๊งกันเป็นระนาว เดือดร้อนลามไปถึงคนซื้อบ้านจนถึงทุกวันนี้เรื่องร้องเรียนจากโครงการเก่าๆ ที่ยังไม่ได้สร้างก็ยังมีอยู่อย่างสม่ำเสมอ ส่วนปัญหาในรูปแบบใหม่ เลขาฯ สคบ.บอกว่า ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของคุณภาพที่ไม่ได้มาตรฐานตามสัญญาพร้อมกับย้ำว่า ผู้บริโภคในยุคที่เศรษฐกิจเริ่มตกสะเก็ดจะต้องระวังคือ เรื่องของมาตรฐานของวัสดุก่อสร้างที่ผู้ประกอบธุรกิจหัวใส ไม่ใส่ใจผู้บริโภค แอบลดสเปกลงเพื่อลดต้นทุน หากไม่ตรวจตราในระหว่างก่อสร้างได้ดี วันดีคืนดีบ้านอาจจะทรุดหรือพังเอาได้ง่ายๆ 

                                                      

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่เป็น เรื่องร้องเรียนท็อปฮิตของ สคบ.ในเวลานี้ คือ การขอเงินดาวน์หรือเงินทำสัญญาคืนจากโครงการอันเนื่องมาจากกู้เงินไม่ผ่าน เรื่องมีอยู่ว่า โครงการหลายแหล่งใช้แคมเปญกู้ 100% เพียงแค่ให้ลูกค้าวางเงินจอง 3 หมื่นบ้าง 5 หมื่นบ้าง พร้อมกับคำยืนยันจากพนักงานขายว่า ถ้ากู้ไม่ผ่านทางโครงการพร้อมจะคืนเงินให้ แต่พอกู้เงินไม่ผ่านเข้ามาจริงๆ กลับถูกบิดพลิ้ว โดยอ้างว่า สัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้ระบุไว้ทำให้ต้องเสียเงินฟรีๆ ให้ช้ำใจ สคบ.ต้องรับหน้าที่เจรจาไกล่เกลี่ยให้ ทั้งๆ ที่ในแง่กฎหมาย ผู้บริโภคไม่มีทางสู้ได้เลย ดังนั้น เมื่อไม่มั่นใจว่าจะกู้เงินผ่านหรือไม่ กรุณาอย่าหลงเชื่อคารมพนักงานขาย แต่ขอให้มีข้อความว่าจะคืนเงินให้เอาไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายดูจะปลอดภัย ที่สุด คราวนี้ลองมาดูว่า สคบ.มีข้อแนะนำในการซื้อบ้านและอาคารชุดอย่างไร 

ก่อน ที่ผู้บริโภคจะตัดสินใจวางเงินจอง เงินมัดจำ เงินดาวน์ และทำสัญญาจะซื้อจะขาย ควรตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจหรือเจ้าของโครงการให้ถูกต้อง ชัดเจน ดังนี้ 

- ผู้ประกอบธุรกิจเคยถูกร้องเรียนมาแล้วหรือไม่ โดยสอบถามข้อมูลได้ที่ สคบ. 
- ชื่อและที่อยู่ของผู้ประกอบธุรกิจถ้าเป็นนิติบุคคลควรตรวจสอบว่า ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ถูกต้องหรือไม่ มีทุนจดทะเบียนเท่าไหร่ ทุนที่ชำระแล้วเท่าไหร่ ใครเป็นกรรมการผู้จัดการ หรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท สอบถามข้อมูลได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด -ที่ดินที่ตั้งโครงการมีโฉนดถูกต้องหรือ ไม่ ตรวจเลขที่โฉนด ใครเป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดิน ได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดินหรือยัง ตรวจสอบข้อมูลได้จากกรมที่ดินหรือสำนักงานที่ดินจังหวัด 
- ผู้ประกอบธุรกิจหรือเจ้าของโครงการได้รับอนุญาตก่อสร้างถูกต้องหรือไม่ ที่ดินแปลงดังกล่าวถูกเวนคืนหรือไม่ ตรวจสอบได้ที่กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร สำนักโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด หรือเทศบาล
- ที่ดินที่ตั้งโครงการมีภาระผูกพันกับนิติบุคคลหรือสถาบันการเงินหรือไม่ กล่าวคือ มีการจำนองหรือฝากขายไว้กับผู้ใด ตรวจสอบได้จากกรมที่ดินหรือสำนักงานที่ดินจังหวัด 
- ตรวจรายละเอียดเกี่ยวกับสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกของโครงการเช่น ถนน น้ำประปา ไฟฟ้า ว่าเจ้าของโครงการได้ดำเนินการไว้แล้วหรือยัง ถ้ายัง ให้สอบถามว่าจะดำเนินการเมื่อใด เสร็จเมื่อใด 
- ตรวจสอบว่าผู้จัดสรรที่ดินได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดินประเภทใด เช่น จัดสรรเป็นที่อยู่อาศัย เป็นนิคมอุตสาหกรรม หรือจัดสรรเป็นที่ประกอบการพาณิชย์ เพื่อจะได้เลือกซื้อให้เหมาะสม ตามวัตถุประสงค์และประโยชน์ใช้สอย
- ตรวจสอบวิธีผ่อนชำระเงินว่าจะต้องผ่อนอย่างไร งวดละเท่าไหร่ ระยะเวลานานเท่าใด 

                                             

ทั้งนี้ ผู้บริโภคอย่าตัดสินใจซื้อบ้านโดย เชื่อจากคำโฆษณาเพียงอย่างเดียวและควรต้องเก็บเอกสารคำโฆษณา และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการเอาไว้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจ ในกรณีที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคขึ้นผู้บริโภคมีหน้าที่ในการดำเนิน การร้องเรียนตามสิทธิของตน โดยร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสินค้าหรือบริการ นั้น หรือร้องเรียนมาที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคต่างจังหวัดโดยการเต รียมตัวเพื่อร้องทุกข์สำหรับผู้บริโภคมีดังนี้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้บริโภค พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2541 มาตรา 4 ได้บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับการคุ้มครอง 5 ประการได้แก่
 - สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ - สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ 
- สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ 
- สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา 
- สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ดังนั้น การร้องทุกข์เมื่อได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อสินค้าหรือบริการถือเป็น เรื่องที่ชอบธรรมที่ผู้บริโภคควรกระทำ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจชดใช้ความเสียหาย และเพื่อเป็นการลงโทษหรือปรามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค


ที่มา :  หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
รูปภาพประกอบ : homechiangmai , www.ocpb.go.th

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

ปรับราคาประเมินที่ดินใหม่ทั่วประเทศเพิ่ม 25%



"กรมธนารักษ์ เตรียมประกาศราคาที่ดินปี 2559 - 2562 ใหม่ พบราคาประเมินที่ดินใหม่ทั่วประเทศเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 25% จ.น่านเพิ่มเฉลี่ย 111%  พื้นที่ กทม. ปรับขึ้น 15% สีลมสูงสุดตารางวาละ 1 ล้านบาท เตรียมประกาศใช้ 1 ม.ค. 59 - ธ.ค. 62“

                               


"กรมธนารักษ์กำลังเร่งประเมินราคาที่ดินระยะ 4 ปีรอบใหม่ โดยประกาศใช้ตั้งแต่1ม.ค. 2559-31ธ.ค.2562 โดยราคาประเมินใหม่จะเป็นเกณฑ์ที่กระทบต่อการพัฒนาตลาดสังหาริมทรัพย์งานสัมมนาทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ และปริมณฑล จัดโดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์นายเอกวัฒน์ มานะแก้ว รองอธิบดีกรมธนารักษ์กล่าวในหัวข้อ ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินรอบใหม่ ปี2559-2562ว่าราคาที่ดินทั่วประเทศที่ประเมินใหม่ปรับขึ้นเฉลี่ย 25% โดยกรุงเทพฯ ปรับขึ้นเฉลี่ย15% แนวรถไฟฟ้าปรับขึ้นเฉลี่ย 75% ส่วนเขตเศรษฐกิจพิเศษปรับขึ้นเฉลี่ย 40-50%ทั้งนี้เมื่อแยกเป็นรายพื้นที่ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เขตพระขโนงราคาเพิ่มเฉลี่ย 33.54% เขตจตุจักรเพิ่มเฉลี่ย 20.75% เขตบางกะปิเพิ่มเฉลี่ย 27.73% เขตลาดพร้าวเพิ่มเฉลี่ย 25.60% เขตลาดกระบังเพิ่มเฉลี่ย 22.63% เขตประเวศเพิ่มเฉลี่ย 21.93% เขตมีนบุรีเพิ่มเฉลี่ย 21.43%โดยราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยในแต่ละเขต พบว่าเขตมีนบุรีเพิ่ม21.43% เขตบางเขน19.85% เขตบึงกุ่ม19.21% เขตบางขุนเทียน10.83% เขตธนบุรี7.35% เขตบางกอกน้อย6.87% เขตหนองจอก6.19% เขตหนองแขม4.76% เขตดอนเมือง4.52% และเขตห้วยขวาง1.04%

นายเอกวัฒน์กล่าวว่าพื้นที่แนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ราคาเดิม 1-1.5 แสนบาทต่อตรว. เพิ่มเป็น 2.8 แสนบาทต่อตรว. ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 2.15 แสนบาทต่อตรว. รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มราชดำริ-สีลม ราคาเดิม 7.5 แสนบาทต่อตรว.เป็น 9 แสนบาทต่อตรว. ราคาเฉลี่ยที่ 8.5 แสนบาทต่อตรว. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงจรัญสนิทวงศ์-เพชรเกษม-ประชาราษฎร์ ราคาเดิม 1.5 แสนบาทต่อตรว.เป็น 1.9 แสนบาทต่อตรว. ราคาเฉลี่ย 1.7 แสนบาทต่อตรว.ส่วนแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง กรุงเทพฯ-นนทบุรี ราคาเดิม 2.15 แสนบาทต่อตรว. เป็น 2.4 แสนบาทต่อตรว.เฉลี่ยที่ 2.27 แสนบาทต่อตรว. รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มราคาเดิม 1.2 แสนบาทต่อตรว. เป็น 2.2 แสนบาทต่อตรว. ราคาเฉลี่ยที่ 1.7 แสนบาทต่อตรว.นายเอกวัฒน์ กล่าวว่าในพื้นที่ต่างจังหวัดโดยภาคกลาง จ.นครสวรรค์ ราคาเพิ่มเฉลี่ย 21% จากราคาสูงสุดเดิม 1.05 แสนบาทต่อตรว. เป็น 1.2 แสนบาทต่อตรว. จ.พิษณุโลก เพิ่มเฉลี่ยในรายพื้นที่ 51% แต่ราคาประเมินพื้นที่สูงสุดอยู่ในระดับเดิมที่ 8 หมื่นบาทต่อตรว


.ขณะที่พื้นที่ภาคเหนือที่จ.เชียงใหม่ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6.71%จ.น่านเพิ่มเฉลี่ย 111% จากราคาสูงสุดเดิม 4.5 หมื่นบาทต่อตรว.เป็น 8.5 หมื่นบาทต่อตรว.สำหรับพื้นที่ภาคอีสาน จ.ขอนแก่นราคาเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 28.53% ราคาสูงสุดไม่เปลี่ยนแปลงที่ 2 แสนบาทต่อตรว. จ.อุดรธานีเพิ่มขึ้น 14.81% จากราคาสูงสุดเดิม 1.5 แสนบาทต่อตรว.เป็น 1.8 แสนบาทต่อตรว.ขณะที่จ.หนองคายเพิ่มเฉลี่ย 37.71%พื้นที่ภาคตะวันออก จ.ชลบุรีราคาเพิ่มเฉลี่ย 35% จากราคาสูงสุดเดิม 1.5 แสนบาทต่อตรว.เป็น 2.2 แสนบาทต่อตรว.ส่วนพื้นที่ภาคใต้ จ.สงขลา เพิ่มเฉลี่ย 35% ราคาสูงสุดไม่เปลี่ยนแปลงที่ 4 แสนบาทต่อตรว.

สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างจ.มุกดาหารเพิ่มเฉลี่ย 38.12% จ.สงขลา เพิ่มเฉลี่ย 35% จ.หนองคายเพิ่มเฉลี่ย 37.17% จ.ตากเพิ่มเฉลี่ย 42.65% จ.สระแก้วเพิ่มเฉลี่ย 24% ส่วนจ.ตราด ราคายังไม่สรุปราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นเป็นไปตามนายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า จากการที่ภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นอสังหาฯถือเป็นสิ่งที่ดี เพราะภาคอสังหาฯเมื่อมีการซื้อขายแล้ว จะเกิดประโยชน์ต่อธุรกิจต่อเนื่อง ทำให้เกิดตัวทวีคูณ 3-4 เท่ามาตรการดังกล่าวจะยังไม่มีผลต่อภาพรวมอสังหาฯปีนี้ เนื่องจากพึ่งออกมาตรการและมีผลช่วง 2-3 เดือนนี้เท่านั้น แต่จะเห็นผลของมาตรการในช่วงไตรมาสแรกปีหน้า จนถึงเดือนเมย.2559ที่ผ่านมาตลอดช่วง 10 เดือน นายสัมมา ยอมรับว่าตลาดอสังหาฯอยู่ในภาวะชะลอตัว เนื่องจากผู้บริโภคขาดความมั่นใจ แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าที่ทั้งปีตลาดอสังหาฯน่าจะเติบโตได้ 10%นายสัมมายอมรับว่ามาตรการกระตุ้นอสังหาฯที่รัฐบาลออกมา ถือว่ามีเจตนาที่ดี แต่หากมองในมุมผู้บริโภคบ้านหลังแรกจริงๆจะมีไม่มาก ถ้าเป็นการซื้อคอนโดมิเนียม จะมีคนซื้อจริง 60% ส่วนที่เหลือเป็นนักลงทุนเก็งกำไรและใน 60% ของผู้ซื้อจริงมีเพียง 30% ที่เป็นผู้ซื้อบ้านหลังแรกคาดรัฐไม่ต้องการให้เกิดภาวะฟองสบู่คิดว่าภาครัฐคงต้องการกระตุ้นอสังหาฯในระดับหนึ่งเท่านั้น ไม่ต้องการให้ตลาดเกิดภาวะเฟื่องฟูมากไป เพราะตลาดที่อยู่อาศัยควรเติบโตอย่างมั่นคงส่วนราคาที่อยู่อาศัยที่ผ่านมา ราคาคอนโดมิเนียมปรับขึ้นเฉลี่ย 4.8% ทาวน์เฮาส์ เพิ่ม 4% บ้านเดี่ยวเพิ่ม 3% โดยธรรมชาติแล้ว ราคาคอนโดมิเนียมจะเพิ่มมาก ส่วนคอนโดมิเนียมราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ราคาจะเพิ่มขึ้นไม่มาก เพราะซัพพลายมีมาก ผู้บริโภคยังมีโอกาสซื้อได้ เพียงแต่ต้องไม่กระโดดเข้าหามาตรการนี้ แต่ต้องพิจารณาถึงความสามารถในการชำระหนี้ของตัวเองผมมองว่าโครงการนี้ไม่เหมือนรถคันแรกผู้ซื้อน่าจะชั่งใจบ้าง แนะนำว่า ผู้ซื้อไม่ควรเร่งโอน แต่ขอให้ตรวจสอบคุณภาพบ้านให้ดีก่อน"


ที่มา :  Nation TV 
http://www.nationtv.tv/main/content/economy-business/378476158/

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

บริการ ตรวจรับคอนโด ตรวจห้องชุด ก่อนโอน

ตรวจห้องชุด ก่อนโอน  กว่า 50 รายการ กับสถาปนิก   เว็ปอันดับหนึ่ง เรื่องการตรวจรับคอนโด

ประโยชน์ของการตรวจรับคอนโดก่อนโอน เพื่อให้คุณมั่นใจว่าคุณได้ห้องที่สวยงาน แข็งแรง ไม่มีปัญหาหลังย้ายเข้าอยู่  และจะไม่ต้องซ่อมแซมส่วนต่างๆ

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่   หัวข้อ " บริการตรวจรับคอนโดก่อนโอน "
http://your-condo.blogspot.com/p/blog-page_5.html

หรือติดต่อสอบถามได้ที่
TEL 098 543-2857 , 085 956-6988
Email : Yourcondo95@gmail.com

ตรวจรับคอนโด